กล้วยต้มกลางพายุ โดยหมอนไม้

กล้วยต้มกลางพายุ : หมอนไม้

กล้วยต้มกลางพายุ โดยหมอนไม้          ในวันเลือกตั้งที่ผ่านมา ผู้เขียนออกไปทำหน้าที่พลเมืองแต่เช้าที่สวนสาธารณะใกล้บ้าน หลังแปดโมงเล็กน้อย ก็เป็นที่น่ายินดีว่า มีผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งจนต้องต่อคิวกันแล้ว ใช้เวลาไม่นานนักก็กลับบ้าน  เพราะทำตามขั้นตอนทุกอย่าง ตั้งแต่การตรวจดูสิทธิ์ของตนก่อนหน้า และดูหมายเลขที่จะไปใช้สิทธิ์เรียบร้อยเพื่อให้ทุกอย่างดำเนินไปอย่างรวดเร็วไม่รบกวนเวลาของคนที่ต่อแถวมาติดๆ จะว่าไปการเลือกตั้งครั้งนี้ ถ้าเราไม่หวังผล ก็ได้เรียนรู้อะไรมากทีเดียว อย่างน้อยก็เรื่อง “สิทธิพื้นฐาน” ที่ทุกคนมีเสมอกัน            การศึกษานโยบายพรรคให้ละเอียดด้วยตนเอง จะนำไปสู่การเลือกพรรคและสมาชิกพรรคได้อย่างที่สามารถเป็นตัวแทนให้เราได้ แม้ว่า เขาคนนั้น หรือ พรรคนั้น อาจไม่ได้รับคะแนนเสียงมากพอที่จะจัดตั้งรัฐบาล หรือ แม้แต้เสียงที่เราเลือกให้ไปก็อาจไม่พอที่จะเป็นหนึ่งในส.ส.ที่จะเข้าไปทำงานในสภาด้วยซ้ำ แต่นั่น ก็คือ การเรียนรู้ที่จะใช้สิทธิ์ของตนอย่างชอบธรรม จะเรียกว่าการใช้สิทธิ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ชีวิตอย่างเป็นผู้เลือกก็ย่อมได้ และเป็นการเรียนรู้สำคัญในการ “เลือก”...
จิตใจที่มีอริยทรัพย์ คือ รู้จักตนเอง : พระพิทยา ฐานิสสโร

จิตใจที่มีศีล คือ มีอริยทรัพย์ : พระพิทยา ฐานิสสโร

สามเณรวัย ๓๐ ปี ชาวสาธารณรัฐเชค บรรพชาตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีที่แล้ว หลังจากฝึกเป็นพ่อขาวอยู่ ๑ ปีที่วัดอมราวดี ในประเทศอังกฤษ ปัจจุบันมาจำพรรษาฤดูหนาวเป็นเวลา ๓ เดือนอยู่ที่วัดธรรมปาละ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ท่านต้องทำหน้าที่ดูแลงานทั่วไปภายในวัด แยกขยะ นำขยะไปทิ้งอาทิตย์ละ ๒ ครั้ง คอยอุปัฏฐากพระผู้ใหญ่ ท่านพยายามฝึกฝนอย่างเต็มกำลัง ในเวลาเกือบ ๒ ปีที่ได้ปฏิบัติภาวนาที่วัด สุดท้ายท่านตัดสินใจลาสิกขาในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ท่านซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกของตัวท่านเอง ที่สำคัญท่านไม่อยากละเมิดในสิกขาบทที่รับมา เพราะรู้สึกว่าท่านยังไม่พร้อมที่จะเป็นสามเณรต่อเพื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุในอีกไม่ช้า ท่านยังอยากใช้ชีวิตแบบฆราวาสที่สามารถทำอะไรได้มากขึ้น ไม่มีข้อกำหนด กฎบังคับมาก แต่มีโอกาสปฏิบัติภาวนาสม่ำเสมอ
ภาพโดย สามเณรพรอนันต์ หุ่นทอง

ร้อยหมื่นพันคำไม่เท่าหนึ่งทำให้ดู : โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

แนวคิดว่า “ร้อยหมื่นพันคำไม่เท่าหนึ่งทำให้ดู”  สอดคล้องกับหลักพุทธที่ว่า “ยถาวาที  ตถาการี  พูดอย่างไร  ทำอย่างนั้น”    ร้อยหมื่นพันคำไม่เท่าหนึ่งทำให้ดู โดย พระมหาประสิทธิ์  ญาณปฺปทีโป                 ได้อ่านบทความวิชาการเรื่อง “ผู้สูงอายุต้นแบบตามแนวพุทธ : กรณีศึกษาหลวงพ่อวัดบางเบิด  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” ประทับใจในความเป็นต้นแบบของหลวงพ่อที่อายุมากถึง ๗๓ ปี แต่ว่ามีอุตสาหะเรียนจนถึงระดับปริญญาเอก  ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมท่านถึงต้องเรียนเป็นพระอายุมากแล้วแล้วไม่ต้องเรียนก็ได้   แต่ท่านกลับเบิกบานกับการเดินทางไกลถึง ๘๐๐ กิโลเมตร ทำให้เกิดแรงบันดาลใจทั้งต่อคณาจารย์และสหธรรมิก  จึงนำไปสู่การถอดบทเรียนทำให้ค้นพบว่า  ท่านทำหน้าที่พระที่ไม่ใช่แค่สอนสั่ง แต่มีแนวคิดว่า “ร้อยหมื่นพันคำไม่เท่าหนึ่งทำให้ดู”  สอดคล้องกับหลักพุทธที่ว่า “ยถาวาที...
ลมหายใจของชีวิต ชีวิตของลมหายใจ : พระครูใบฎีกามงคล วชิรปัญโญ เรื่อง  ปัญญวชิรา ภาพ

ลมหายใจของชีวิต ชีวิตของลมหายใจ : พระครูใบฎีกามงคล วชิรปัญโญ เรื่อง  ปัญญวชิรา ภาพ

เรียงถ้อย ร้อยธรรม  ลมหายใจของชีวิต ชีวิตของลมหายใจ โดย พระครูใบฎีกามงคล วชิรปัญโญ เรื่อง  ปัญญวชิรา ภาพ     ลมหายใจของชีวิต ชีวิตของลมหายใจ              ๏ หนึ่งชีวิตชีวา                      คุณว่ายาวนานแค่ไหน ไหนลองสูดหายใจ                           เข้าไปให้สุดใจลึก            ๏ แล้วกลั้นไม่ออกมา              ดูแววตาความรู้สึก      นับเนื่องเป็นเครื่องตรึก                     นึกถึงลมหายใจออก ๏ งั้นหายใจออกพลัน             ออกแล้วกลั้นตามคำบอก                                 เอาลมสู่ข้างนอก                              แล้วไม่กรอกกลับเข้าไป ๏ ย่อมอึดอัดขัดเคือง              ถือเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่                                 หายใจเข้าไม่ออกไป             ...
เธอคือพรอันประเสริฐ โดย พระพิทยา ฐานิสสโร  

เธอคือพรอันประเสริฐ โดย พระพิทยา ฐานิสสโร  

เธอคือพรอันประเสริฐ  โดย พระพิทยา ฐานิสสโร   ดินโคลนถล่มครั้งใหญ่จากภูเขาลงมาในหมู่บ้านแถว Chembery ประเทศฝรั่งเศส ในวันที่ 24 พฤศจิกายน ปีพุทธศักราช ๑๗๙๑ ทำให้เกิดความเสียหายในหมู่บ้านและผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก แต่ไม่สร้างความเสียหายกับโบสถ์พระแม่มาเรียดำในหมู่บ้านนั้น หลังจากเหตุการณ์นั้นเป็นเหตุให้เกิดความศรัทธาอย่างยิ่งใหญ่ต่อพระแม่มาเรียดำนับจนถึงปัจจุบันนี้ และเมื่อใครที่มาขอพรสำเร็จ มีหลายคนที่กลับมาแสดงความขอบคุณด้วยการทำป้ายสลักหินอ่อนใส่ชื่อ วัน เดือน ปี ที่ตนได้สมประสงค์ในสิ่งที่ได้ขอพรไว้ต่อพระแม่มาเรียดำ ในทุกๆ ที่ไม่ว่าจะนับถือศาสนาไหนหรือที่ใดๆ บนโลกใบนี้ สถานที่ที่มีการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติสู่ความเรียบง่าย เพื่อลดความเห็นแก่ตัว ปล่อยวางความยึดมั่น ถือมั่นในตัวตนของตน เพื่อเป็นการอุทิศชีวิตบนหนทางแห่งการตื่นรู้ ณ ที่ๆ นั้น เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์เสมอ รูปเคารพเป็นเพียงสิ่งสมมติให้ผู้คนที่นับถือในความเชื่อ สิ่งสมมตินั้นๆ จากความดีหรือสิ่งดีๆ...
พระครูประโชติรัตนานุรักษ์

พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (๒)…โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

ตามรอยปฏิปทา พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามรอยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า... ณ  จุดเริ่มต้นชีวิตของ พระครูประโชติรัตนานุรักษ์  ที่  สำนักสงฆ์โคกโก (วัดรัตนานุภาพ) พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก ... โดย  พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท  วัดทองนพคุณ คลองสาน กรุงเทพฯ        เรื่องราวของอาจารย์พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดรัตนานุภาพ อดีตเจ้าคณะอำเภอสุไหงปาดี และอดีตประธานเครือข่ายพระธรรมทูตอาสาจังหวัดนราธิวาส จะไม่มีวันหายไปจากใจของศิษย์ และสาธุชนที่ได้สดับรับฟังเรื่องราวของท่าน และเคยได้พบท่าน สนทนากับท่าน ตลอดจนผู้ที่ผ่านไปมายังวัดรัตนานุภาพที่ท่านเคยเป็นเจ้าอาวาส วัดซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านและที่จากไปของท่านในชั่วขณะลมหายใจสุดท้ายของชีวิต  จากนี้ไป จะขอเล่าประวัติในส่วนของการอุปสมบทเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ และการจาริกไปอยู่จำพรรษาเพื่อฝึกฝนพัฒนาตนเองกับครูบาอาจารย์ตามวัดต่างๆ จนมาตั้งหลักปักฐานจำพรรษาสร้างสำนักสงฆ์โคกโกให้สำเร็จเป็น วัดรัตนานุภาพ มีเสนาสนะที่เพียบพร้อมสัปปายะเหมาะแก่การปฏิบัติศาสนกิจ สวยงามทั้งกุฏิ ศาลาโรงธรรม ศาลาหอฉัน และอุโบสถ พร้อมทั้งซื้อที่ดินขยายวัด ปลูกต้นไม้ภายในบริเวณวัดให้มีความร่มรื่น        ...
Photo by Manasikul_O

ถือศีล ๘ ว่ายน้ำได้ไหม : Q&A Quickly Dhrama Healing โดย พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี

อยากปฏิบัติธรรมเข้มๆ แต่บางครั้งกิเลสก็หลอกเอาทำไงดี ... มีปัญหาด่วนๆ คาใจแก้ปัญหาไม่ได้ ถามมา  พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี เมตตาตอบทุกคำถาม ค่ะ    Question  ถือศีลแปดว่ายน้ำได้ไหมคะ หมายถึงใส่ชุดกีฬาเรียบร้อยค่ะ Answer โดย พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี  ตอบ ก่อนจะตอบคำถามนี้ อยากให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ศีล ๘ หรือศีลอุโบสถชัดเจนก่อน จึงขอยกข้อความโดยละเอียดที่ปรากฎในอุโปสถวรรค พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาตว่า             ๑....
Photo by Manasikul_O

ผู้ถือศีล ๘ ยืนรับประทานผิดศีลไหม : Q&A Quickly Dhrama Healing by พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี

บ่อยไหม ที่ความทุกข์กลุ้มรุมจิต  เคยเป็นไหมที่การฝึกปฏิบัติ บางครั้งก็มีคำถาม อย่างคาดไม่ถึง... ส่งคำถาม ปัญหาค้างคาใจมาได้ที่่นี่  ทุกปัญหามีคำอธิบาย... Q&A Quickly Dhrama Healing by พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี  Question :  ผู้ถือศีล ๘ ยืนรับประทาน หรือ เดินไปกินไปได้ไหมคะ ผิดศีล ผิดพระวินัยไหมคะ Answer : พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี การปฏิบัติศีล ๘ นั้นอย่างที่เคยบอกแล้วว่าเป็นการฝึกตนเองตามแบบพระอรหันต์หรือพระอริยะที่มีกิริยามารยาทสำรวมระวัง ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น อีกทั้งยังเรียนรู้ที่จะเข้าใจความพอดีในชีวิต นำตัวเองไปสู่ความพอดี ไม่เกินเลยจากความจำเป็น ฉะนั้น การที่ผู้ถือศีล ๘ จะยืนรับประทานอาหารหรือเดินไปกินไปได้หรือไม่นั้นจะไม่กล่าวถึงศีล ๘ โดยตรงแต่จะกล่าวโดยรวมถึงข้อปฏิบัติที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้สำหรับพระภิกษุผู้ฝึกปฏิบัติตนและมีกิริยาสำรวมระวัง ในส่วนแรกนั้น ไม่มีข้อห้ามเรื่องที่ผู้ถือศีล...
พระครูประโชติรัตนานุรักษ์กับเด็กๆ ชาวดอย ที่อาศรมบ้านดอกแดง เชียงใหม่

“ไม่ตาย ไม่เลิกทำความดี” พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (๒) โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

จาริกบ้าน จารึกธรรม (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒) โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท วัดทองนพคุณ คลองสาน กรุงเทพฯ เรียนรู้ปฏิปทาพระสุปฏิปันโนผู้เดินตามรอยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ... “ไม่ตาย ไม่เลิกทำความดี” พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (๒) จาริกบ้านจารึกธรรม   โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท  วัดทองนพคุณ คลองสาน กรุงเทพฯ        ผู้เขียนได้พูดคุยกับ พระครูปลัดสุพัน สุวณฺโณ...
"ต้นแบบของพระผู้สร้าง... ”พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก ๓ โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

“ต้นแบบของพระผู้สร้าง… ”พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก(๓) โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

คอลัมน์ จาริกบ้าน จารึกธรรม (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ โดยพระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท วัดทองนพคุณ คลองสาน กรุงเทพฯ “ต้นแบบของพระผู้สร้าง... ผู้สืบทอดอายุพระพุทธศาสนา” พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก ๓ โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท  วัดทองนพคุณ คลองสาน กรุงเทพฯ        ผู้เขียนได้พูดคุยกับ พระครูพิพัฒน์เมธากร ในฐานะที่เป็นกัลยาณมิตรของอาจารย์พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดรัตนานุภาพ อดีตเจ้าคณะอำเภอสุไหงปาดี...

TRENDING RIGHT NOW