หน้าแรก Special Article : บทความพิเศษ

Special Article : บทความพิเศษ

    ป่าคือชีวิต ต้นไม้คือลมหายใจ โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

    ป่าคือชีวิต ต้นไม้คือลมหายใจ โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

    ติดตามการกลับไปปลูกป่า ปลูกต้นไม้ ที่วัดบ้านเกิด วัดวรกิจพัฒนาราม อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร กับ พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ป่าคือชีวิต ต้นไม้คือลมหายใจ โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท
    ใจเปลี่ยนฤดู โดย พระพิทยา ฐานิสสโร

    ใจเปลี่ยนฤดู โดย พระพิทยา ฐานิสสโร

    ท่องโลก เห็นธรรม พระพิทยา ฐานิสสโร
    ถามใจตนเองให้ดีเมื่อมีผู้ชี้นำ : พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

    ถามใจตัวเองให้ดี เมื่อมีคน “ชี้นำ” : โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

      “บางครั้ง การฟังเสียงคนอื่นมากเกินไป จนลืมเสียงหัวใจตนเองไม่ค่อยดีเท่าไหร่  เพราะเคยเห็นคนที่ไปตามผู้ชี้นำเสมอ...จนลืมไปว่าอะไรที่สิ่งสำคัญสำหรับตัวเอง”    ถามใจตัวเองให้ดี เมื่อมีคน “ชี้นำ” โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป   หลายคนเหลือเกินที่จะชี้ให้เราไปสู่เป้าหมาย  แต่มีไม่กี่คนหรอก  ที่จะนำเราไปสู่จุดหมายที่ชี้นั้น  และบางคนก็ทำได้แค่ชี้ให้เราเห็น มากมายเป้าหมายที่อยู่เบื้องหน้า  เราเองจะต้องเลือกสักอย่าง  แล้วก็พยายามก้าวไปให้ถึงจุดนั้นด้วยตัวเอง  เพราะจริงๆ แล้ว มันยากที่จะมีใครมานำเราไป  อย่างมากก็แค่เดินนำ  ทำให้เราเห็นว่า ทางนั้นพอจะไปได้บ้างแต่ก้าวสำคัญก็ยังเป็นของเรา เพราะถ้าพลาด...ก็หล่นเองและเจ็บเอง            บางคนอยากหาเพื่อนร่วมทาง  ที่มีจุดหมายจุดเดียวกัน  ก็อาจจะพอหาได้  แต่ความหมายเดียวกันอาจจะยากสักหน่อย  เพราะแม้เราจะมองจุดเดียวกัน  เราก็อาจจะหมายถึงคนละอย่างกัน  เคยขึ้นไปบนยอดดอยอย่างลำบากกว่าจะขึ้นไปถึง แล้วมองยอดดอยมากมาย ...
    "ต้นแบบของพระผู้สร้าง... ”พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก ๓ โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

    “ต้นแบบของพระผู้สร้าง… ”พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก(๓) โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

    คอลัมน์ จาริกบ้าน จารึกธรรม (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ โดยพระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท วัดทองนพคุณ คลองสาน กรุงเทพฯ “ต้นแบบของพระผู้สร้าง... ผู้สืบทอดอายุพระพุทธศาสนา” พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก ๓ โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท  วัดทองนพคุณ คลองสาน กรุงเทพฯ        ผู้เขียนได้พูดคุยกับ พระครูพิพัฒน์เมธากร ในฐานะที่เป็นกัลยาณมิตรของอาจารย์พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดรัตนานุภาพ อดีตเจ้าคณะอำเภอสุไหงปาดี...
    Photo by Manasikul_O

    ถือศีล ๘ ว่ายน้ำได้ไหม : Q&A Quickly Dhrama Healing โดย พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี

    อยากปฏิบัติธรรมเข้มๆ แต่บางครั้งกิเลสก็หลอกเอาทำไงดี ... มีปัญหาด่วนๆ คาใจแก้ปัญหาไม่ได้ ถามมา  พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี เมตตาตอบทุกคำถาม ค่ะ    Question  ถือศีลแปดว่ายน้ำได้ไหมคะ หมายถึงใส่ชุดกีฬาเรียบร้อยค่ะ Answer โดย พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี  ตอบ ก่อนจะตอบคำถามนี้ อยากให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ศีล ๘ หรือศีลอุโบสถชัดเจนก่อน จึงขอยกข้อความโดยละเอียดที่ปรากฎในอุโปสถวรรค พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาตว่า             ๑....
    พระครูประโชติรัตนานุรักษ์กับเด็กๆ ชาวดอย ที่อาศรมบ้านดอกแดง เชียงใหม่

    “ไม่ตาย ไม่เลิกทำความดี” พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (๒) โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

    จาริกบ้าน จารึกธรรม (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒) โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท วัดทองนพคุณ คลองสาน กรุงเทพฯ เรียนรู้ปฏิปทาพระสุปฏิปันโนผู้เดินตามรอยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ... “ไม่ตาย ไม่เลิกทำความดี” พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (๒) จาริกบ้านจารึกธรรม   โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท  วัดทองนพคุณ คลองสาน กรุงเทพฯ        ผู้เขียนได้พูดคุยกับ พระครูปลัดสุพัน สุวณฺโณ...
    ลมหายใจของชีวิต ชีวิตของลมหายใจ : พระครูใบฎีกามงคล วชิรปัญโญ เรื่อง  ปัญญวชิรา ภาพ

    ลมหายใจของชีวิต ชีวิตของลมหายใจ : พระครูใบฎีกามงคล วชิรปัญโญ เรื่อง  ปัญญวชิรา ภาพ

    เรียงถ้อย ร้อยธรรม  ลมหายใจของชีวิต ชีวิตของลมหายใจ โดย พระครูใบฎีกามงคล วชิรปัญโญ เรื่อง  ปัญญวชิรา ภาพ     ลมหายใจของชีวิต ชีวิตของลมหายใจ              ๏ หนึ่งชีวิตชีวา                      คุณว่ายาวนานแค่ไหน ไหนลองสูดหายใจ                           เข้าไปให้สุดใจลึก            ๏ แล้วกลั้นไม่ออกมา              ดูแววตาความรู้สึก      นับเนื่องเป็นเครื่องตรึก                     นึกถึงลมหายใจออก ๏ งั้นหายใจออกพลัน             ออกแล้วกลั้นตามคำบอก                                 เอาลมสู่ข้างนอก                              แล้วไม่กรอกกลับเข้าไป ๏ ย่อมอึดอัดขัดเคือง              ถือเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่                                 หายใจเข้าไม่ออกไป             ...
    เปรียบเทียบเพื่อทบทวน ไม่ใช่เพื่อทับถม โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

    เปรียบเทียบเพื่อทบทวน ไม่ใช่เพื่อทับถม โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

    “การสอนเด็ก...ไม่ใช่แค่ให้เขารู้อะไร แต่ให้เขารู้วิธีคิด เพราะถ้ามีวิธีคิดที่ดีแล้วจะนำไปสู่การแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง”   มีลาอยู่ตัวหนึ่ง มันเล็มหญ้าอยู่ที่ทุ่งอันเขียวขจีกว้างใหญ่ในช่วงปลายฝนต้นหนาว ทำให้เช้าๆ หมอกเม็ดหนาค้างอยู่บนยอดหญ้าสะท้อนกับแสงแดดเป็นประกายดุจเพชรเม็ดงาม  กระจายทั่วทุ่ง  เสียงจิ้งหรีดดังระงมไปทั่วทุ่ง สร้างความบันเทิงใจให้กับลาตัวนั้นมาก  ความหลงใหลในเสียงของจิ้งหรีดทำให้ลาตัดสินใจเดินไปถามว่า “เจ้าจิ้งหรีดน้อย เสียงเจ้าดีเหลือเกิน เจ้าทำยังไงถึงได้เสียงดีขนาดนี้?” จิ้งหรีดน้อยร้องตอบไปว่า  “ข้าตื่นแต่เช้ากินน้ำค้างทุกวัน” ฟังเพียงเท่านี้เจ้าลาตัวนั้นมันก็เลิกกินหญ้า  ตื่นเช้ามาก็เลียกินแต่น้ำค้าง  ด้วยหวังว่าสักวันมันจะมีเสียงที่ดีเหมือนจิ้งหรีด ไม่นานลาตัวนั้นก็ตาย เพราะร่างกายผอมโซขาดใจตายในที่สุด ผู้เขียนเล่าเรื่องนี้ให้เด็กๆ ฟัง ก่อนจะถามว่าเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าอะไร เด็กๆ หลายคนบอกว่า “ลาโง่ไม่ดูตัวเอง” มีเด็กคนหนึ่งบอกว่า “ลาไม่ได้โง่แค่ค้นหาตัวเองไม่เจอ เลยมัวแต่เลียนแบบคนอื่น จึงไม่ประสบความสำเร็จ” ฟังแล้วก็ได้แต่แย้มน้อยๆ เพราะไม่กี่ครั้งที่เล่าไปแล้วจะมีคนค้นพบรหัสที่ซ่อนอยู่ในเรื่องเล่า  เพราะการสอนเด็กยุคนี้  การอธิบายให้ฟังไม่ค่อยได้ผลเพราะเขาหาอ่านได้จากอินเทอร์เน็ต  แต่การกระตุ้นด้วยคำถามหรือเรื่องเล่าเพื่อชวนคิด  และขบประเด็นบางอย่าง  จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ได้ดีกว่า เพราะบางครั้งเราไม่ใช่แค่ให้เขารู้อะไร  แต่อยากให้เขารู้วิธีคิดมากกว่า  เพราะถ้ามีวิธีคิดที่ดีแล้วจะนำไปสู่การแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง   จากเรื่องลากับจิ้งหรีด  เราช่วยกันสรุปประเด็นว่า...

    TRENDING RIGHT NOW