หน้าแรก Socially Engaged Buddhism : พุทธศาสนาเพื่อสังคม

Socially Engaged Buddhism : พุทธศาสนาเพื่อสังคม

    ผลผลิตสามเณรภาคฤดูร้อน โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

    “สร้างทางดีไว้…ให้เป็นทางเดิน”ผลผลิตจากสามเณรภาคฤดูร้อน โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

    ติดตามงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมวิทยากร ครูพระสอนศีลธรรม และการทำงานของพระสงฆ์มากมายอย่างเข้มข้น จากการเติบโตของพระเณรทุนในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดศรีสะเกษ กับ พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป
    สิ่งมีค่าในเวลาที่สูญเสีย โดย พระพิทยา ฐานิสสโร

    สิ่งมีค่าในเวลาที่สูญเสีย โดย พระพิทยา ฐานิสสโร

    สิ่งมีค่าในเวลาที่สูญเสีย โดย พระพิทยา ฐานิสสโร อาสนวิหารนอเทรอดามอายุกว่า ๘๕๐ ปีเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เหตุการณ์ไฟไหม้ที่เกิดขึ้นในวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๒ ที่ผ่านมาในเวลาใกล้เคียงกับ "มัสยิดอัล-อักซอ" (Al-Aqsa) ในกรุงเยรูซาเล็ม เมืองหลวงของอิสราเอล ซึ่งเป็นหนึ่งในสามมัสยิดสำคัญของชาวมุสลิมทั่วโลกโดยมีความเก่าแก่ถึง ๒,๐๐๐ ปี สร้างความเสียหายกับโบราณสถานแห่งนี้เช่นเดียวกัน แม้อาจในระดับที่น้อยกว่าไฟไหม้ที่อาสนวิหารนอเทรอดาม หรือแม้แต่ไฟไหม้ป่าครั้งใหญ่หลายต่อหลายครั้งที่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และล่าสุดไฟไหม้ป่าทางภาคเหนือ ภาคอีสานของประเทศไทยที่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น จะเรียกว่าที่ไหนน้อยกว่า หรือมากกว่าคงไม่ได้ ความสูญเสีย แม้น้อยใหญ่ก็คือ ความสูญเสียนั่นเอง
    รู้อะไรแท้ อะไรเทียมก็จะพบทางออก โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

    รู้” อะไรแท้ อะไรเทียมก็จะพบทางออก โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

    “เราอย่ามัวแต่ถามหาความผิดทั้งของตนเองและคนอื่นมากจนเกินไป  เพราะส่วนใหญ่สิ่งที่เราชี้ผิดชี้ถูกกันส่วนใหญ่มันมักจะเป็นแค่ค่านิยมตามสมัย  ไม่ใช่อะไรที่เป็นแก่นสาร” รู้” อะไรแท้ อะไรเทียมก็จะพบทางออก โดย พระมหาประสิทธิ์  ญาณปฺปทีโป            มีคนมาสะท้อนให้ฟังว่า ได้ทบทวนตัวเองเหมือนอย่างที่ได้บอกไป แต่พบว่า มีเรื่องผิดหวังมากจนทำให้รู้สึกท้อแท้ใจ  เหมือนสิ่งที่เคยพลาดมาตอกย้ำความผิดให้จิตพลอยรู้สึกตกต่ำลงไปอีก  เป็นไปได้ไหมที่เราจะไม่คิดถึงอดีต ขอก้าวไปข้างหน้าต่อไปโดยที่ไม่สนใจว่า ที่ผ่านมาจะเป็นอย่างไรก็ตาม            ฟังแล้วก็อดยิ้มไม่ได้  เพราะแท้จริง นั่นคือสิ่งที่เขาได้จากการทบทวน...
    ป่าคือชีวิต ต้นไม้คือลมหายใจ โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

    ป่าคือชีวิต ต้นไม้คือลมหายใจ โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

    ติดตามการกลับไปปลูกป่า ปลูกต้นไม้ ที่วัดบ้านเกิด วัดวรกิจพัฒนาราม อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร กับ พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ป่าคือชีวิต ต้นไม้คือลมหายใจ โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท
    Photo by monmai

    เมื่อจิตเป็นอันธพาล แก้ไขอย่างไร Q&A Quickly Dhrama Healing by พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี

    (Q) :  ทำไมจิตถึงไหวไปจับอารมณ์ที่ลบๆ ได้เร็วมาก และพร้อมที่จะวีนออกไปเมื่อได้ยินในสิ่งที่ไม่อยากฟังคะพระอาจารย์. เหตุเกิดจากเพื่อนคนหนึ่งเพิ่งออกมาจากกรรมฐานที่วัดแห่งหนึ่งเป็นเวลาหลายเดือนแต่พออกมาคำถามแรกที่โทรมาคือ ถามข่าวคราว และถามหลายๆเรื่องที่ไม่อยากตอบ เห็นจิตกลับไปอยู่ในโหมด โมโหอีกแล้ว เห็นจิตเป็นอันธพาลค่ะ พระอาจารย์. ทำไงดีคะ (A)  :  จากคำถามข้างต้นขอขยายความหมายบางอย่างให้ทราบก่อนคือ -“จิต” คือ...
    พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศฯ

    “พระผู้นำแสงสว่างสู่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้” พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (๖) : โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

    พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศฯ "พระผู้นำแสงสว่างสู่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ : พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (๖)" : โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท จากคอลัมน์ จาริกบ้านจาึกธรรม หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก...
    พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

    พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

    พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม  โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป “พระพุทธศาสนาไม่ใช่เรื่องของปัจเจก (individual) แต่หมายถึงการอยู่ร่วมกันกับสังคมส่วนรวม (Society as Collective) พร้อมทั้งสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมต่อไปอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะเห็นได้ว่า... พระพุทธเจ้ามุ่งให้พระสงฆ์อนุเคราะห์สร้างสิ่งอันสมควรแก่มนุษย์ทั้งหลาย “   พุทธศาสนาเพื่อสังคม               คนไทยยังไม่คุ้นกับคำว่า  พุทธศาสนาเพื่อสังคม (Socially Engaged Buddhism)  มากนัก  เพราะส่วนใหญ่พูดกันในแวดวงวิชาการ หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะวิถีสงฆ์ไทยได้ปฏิบัติจนเป็นความคุ้นชินกับคนทั่วไป  เป็นการรับรู้ร่วมกันโดยที่ไม่ต้องบัญญัติศัพท์ใหม่เพื่อทำความเข้าใจ  เพราะวิถีพุทธนั้น เป้าหมายสำคัญก็เพื่อประโยชน์สุขของสังคม  ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า  “จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํฯ เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์” ...
    ถามใจตนเองให้ดีเมื่อมีผู้ชี้นำ : พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

    ถามใจตัวเองให้ดี เมื่อมีคน “ชี้นำ” : โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

      “บางครั้ง การฟังเสียงคนอื่นมากเกินไป จนลืมเสียงหัวใจตนเองไม่ค่อยดีเท่าไหร่  เพราะเคยเห็นคนที่ไปตามผู้ชี้นำเสมอ...จนลืมไปว่าอะไรที่สิ่งสำคัญสำหรับตัวเอง”    ถามใจตัวเองให้ดี เมื่อมีคน “ชี้นำ” โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป   หลายคนเหลือเกินที่จะชี้ให้เราไปสู่เป้าหมาย  แต่มีไม่กี่คนหรอก  ที่จะนำเราไปสู่จุดหมายที่ชี้นั้น  และบางคนก็ทำได้แค่ชี้ให้เราเห็น มากมายเป้าหมายที่อยู่เบื้องหน้า  เราเองจะต้องเลือกสักอย่าง  แล้วก็พยายามก้าวไปให้ถึงจุดนั้นด้วยตัวเอง  เพราะจริงๆ แล้ว มันยากที่จะมีใครมานำเราไป  อย่างมากก็แค่เดินนำ  ทำให้เราเห็นว่า ทางนั้นพอจะไปได้บ้างแต่ก้าวสำคัญก็ยังเป็นของเรา เพราะถ้าพลาด...ก็หล่นเองและเจ็บเอง            บางคนอยากหาเพื่อนร่วมทาง  ที่มีจุดหมายจุดเดียวกัน  ก็อาจจะพอหาได้  แต่ความหมายเดียวกันอาจจะยากสักหน่อย  เพราะแม้เราจะมองจุดเดียวกัน  เราก็อาจจะหมายถึงคนละอย่างกัน  เคยขึ้นไปบนยอดดอยอย่างลำบากกว่าจะขึ้นไปถึง แล้วมองยอดดอยมากมาย ...
    ภาพโดย สามเณรพรอนันต์ หุ่นทอง

    ร้อยหมื่นพันคำไม่เท่าหนึ่งทำให้ดู : โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

    ร้อยหมื่นพันคำไม่เท่าหนึ่งทำให้ดู โดย พระมหาประสิทธิ์  ญาณปฺปทีโป ได้อ่านบทความวิชาการเรื่อง “ผู้สูงอายุต้นแบบตามแนวพุทธ : กรณีศึกษาหลวงพ่อวัดบางเบิด  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” ประทับใจในความเป็นต้นแบบของหลวงพ่อที่อายุมากถึง ๗๓ ปี แต่ว่ามีอุตสาหะเรียนจนถึงระดับปริญญาเอก  ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมท่านถึงต้องเรียนเป็นพระอายุมากแล้วแล้วไม่ต้องเรียนก็ได้   แต่ท่านกลับเบิกบานกับการเดินทางไกลถึง ๘๐๐ กิโลเมตร ทำให้เกิดแรงบันดาลใจทั้งต่อคณาจารย์และสหธรรมิก  จึงนำไปสู่การถอดบทเรียนทำให้ค้นพบว่า  ท่านทำหน้าที่พระที่ไม่ใช่แค่สอนสั่ง แต่มีแนวคิดว่า “ร้อยหมื่นพันคำไม่เท่าหนึ่งทำให้ดู”  สอดคล้องกับหลักพุทธที่ว่า “ยถาวาที  ตถาการี  พูดอย่างไร  ทำอย่างนั้น”  ซึ่งผู้ศึกษาได้สรุปเป็นประเด็นความเป็นต้นแบบของผู้สูงอายุตามแนวพุทธ ของหลวงพ่อว่า เจตนาในการทำตนให้เป็นต้นแบบ หลวงพ่อวัดบางเบิด  มีปณิธาน แกร่งกล้าที่จะใช้ตนเองให้เป็นต้นแบบแก่ลูกหลาน  ให้เห็นเป็นภาพประจักษ์ ยืนยันคำสอนของท่าน ที่มุ่งให้ทุกคนพัฒนาตนเองทั้งทางโลกและการพัฒนาจิตใจทางธรรม ...
    เปรียบเทียบเพื่อทบทวน ไม่ใช่เพื่อทับถม โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

    เปรียบเทียบเพื่อทบทวน ไม่ใช่เพื่อทับถม โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

    “การสอนเด็ก...ไม่ใช่แค่ให้เขารู้อะไร แต่ให้เขารู้วิธีคิด เพราะถ้ามีวิธีคิดที่ดีแล้วจะนำไปสู่การแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง”   มีลาอยู่ตัวหนึ่ง มันเล็มหญ้าอยู่ที่ทุ่งอันเขียวขจีกว้างใหญ่ในช่วงปลายฝนต้นหนาว ทำให้เช้าๆ หมอกเม็ดหนาค้างอยู่บนยอดหญ้าสะท้อนกับแสงแดดเป็นประกายดุจเพชรเม็ดงาม  กระจายทั่วทุ่ง  เสียงจิ้งหรีดดังระงมไปทั่วทุ่ง สร้างความบันเทิงใจให้กับลาตัวนั้นมาก  ความหลงใหลในเสียงของจิ้งหรีดทำให้ลาตัดสินใจเดินไปถามว่า “เจ้าจิ้งหรีดน้อย เสียงเจ้าดีเหลือเกิน เจ้าทำยังไงถึงได้เสียงดีขนาดนี้?” จิ้งหรีดน้อยร้องตอบไปว่า  “ข้าตื่นแต่เช้ากินน้ำค้างทุกวัน” ฟังเพียงเท่านี้เจ้าลาตัวนั้นมันก็เลิกกินหญ้า  ตื่นเช้ามาก็เลียกินแต่น้ำค้าง  ด้วยหวังว่าสักวันมันจะมีเสียงที่ดีเหมือนจิ้งหรีด ไม่นานลาตัวนั้นก็ตาย เพราะร่างกายผอมโซขาดใจตายในที่สุด ผู้เขียนเล่าเรื่องนี้ให้เด็กๆ ฟัง ก่อนจะถามว่าเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าอะไร เด็กๆ หลายคนบอกว่า “ลาโง่ไม่ดูตัวเอง” มีเด็กคนหนึ่งบอกว่า “ลาไม่ได้โง่แค่ค้นหาตัวเองไม่เจอ เลยมัวแต่เลียนแบบคนอื่น จึงไม่ประสบความสำเร็จ” ฟังแล้วก็ได้แต่แย้มน้อยๆ เพราะไม่กี่ครั้งที่เล่าไปแล้วจะมีคนค้นพบรหัสที่ซ่อนอยู่ในเรื่องเล่า  เพราะการสอนเด็กยุคนี้  การอธิบายให้ฟังไม่ค่อยได้ผลเพราะเขาหาอ่านได้จากอินเทอร์เน็ต  แต่การกระตุ้นด้วยคำถามหรือเรื่องเล่าเพื่อชวนคิด  และขบประเด็นบางอย่าง  จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ได้ดีกว่า เพราะบางครั้งเราไม่ใช่แค่ให้เขารู้อะไร  แต่อยากให้เขารู้วิธีคิดมากกว่า  เพราะถ้ามีวิธีคิดที่ดีแล้วจะนำไปสู่การแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง   จากเรื่องลากับจิ้งหรีด  เราช่วยกันสรุปประเด็นว่า...

    TRENDING RIGHT NOW