พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม  โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป “พระพุทธศาสนาไม่ใช่เรื่องของปัจเจก (individual) แต่หมายถึงการอยู่ร่วมกันกับสังคมส่วนรวม (Society as Collective) พร้อมทั้งสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมต่อไปอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะเห็นได้ว่า... พระพุทธเจ้ามุ่งให้พระสงฆ์อนุเคราะห์สร้างสิ่งอันสมควรแก่มนุษย์ทั้งหลาย “   พุทธศาสนาเพื่อสังคม               คนไทยยังไม่คุ้นกับคำว่า  พุทธศาสนาเพื่อสังคม (Socially Engaged Buddhism)  มากนัก  เพราะส่วนใหญ่พูดกันในแวดวงวิชาการ หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะวิถีสงฆ์ไทยได้ปฏิบัติจนเป็นความคุ้นชินกับคนทั่วไป  เป็นการรับรู้ร่วมกันโดยที่ไม่ต้องบัญญัติศัพท์ใหม่เพื่อทำความเข้าใจ  เพราะวิถีพุทธนั้น เป้าหมายสำคัญก็เพื่อประโยชน์สุขของสังคม  ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า  “จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํฯ เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์” ...

มิตรภาพ และความเข้าใจ ณ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งโดโมดอสโซลา   โดย พระพิทยา ฐานิสสโร   

มิตรภาพ และความเข้าใจ ณ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งโดโมดอสโซลา      โดโมดอสโซลา (Domodossola)เป็นเมืองเล็กๆ ที่ล้อมรอบด้วยภูเขาทางตอนเหนือในแคว้นพีดมอนต์ (Piedmont) ประเทศอิตาลี ซึ่งชายแดนติดกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่นี่ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยวหลัก แต่มีศิลปะที่ผสมผสานกันระหว่างประติมากรรมและจิตรกรรมของชาวคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ภายในโบสถ์ ศิลปกรรมเป็นงานสามมิติ แต่ละชาเปลบริเวณมุขโค้ง เริ่มต้นตั้งแต่ปริมณฑลของเมืองจนถึงโบสถ์บนภูเขาที่มีพระเยซูทรงถูกตรึงไม้กางเขน เมื่อนักแสวงบุญมีโอกาสเดินลดเลี้ยวจากชาเปลหนึ่งไปอีกชาเปลหนึ่งเหมือนได้รับรู้เรื่องราวและเดินตามรอยพระบาทของพระเยซูบนถนนโดโลโรซา (Via Dolorosa) ในกรุงเยรูซาเลม ซึ่งเป็นถนนที่พระองค์ทรงเดินแบกกางเขนไปสู่เนินกอลกอธา (Golgotha) ที่ทรงถูกตรึงกางเขน และสถานที่แห่งนี้ก็เป็นอีกที่หนึ่งที่ได้จำลองเรื่องราวนั้น ภูเขาแห่งเมืองนี้ได้รับการขนานนามว่าภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งโดโมดอสโซลาหรือ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์มอนเตคัลวาริโอ(อิตาลี: Sacro Monte di Domodossola หรือ Sacro Monte...
จิตใจที่มีอริยทรัพย์ คือ รู้จักตนเอง : พระพิทยา ฐานิสสโร

จิตใจที่มีศีล คือ มีอริยทรัพย์ : พระพิทยา ฐานิสสโร

สามเณรวัย ๓๐ ปี ชาวสาธารณรัฐเชค บรรพชาตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีที่แล้ว หลังจากฝึกเป็นพ่อขาวอยู่ ๑ ปีที่วัดอมราวดี ในประเทศอังกฤษ ปัจจุบันมาจำพรรษาฤดูหนาวเป็นเวลา ๓ เดือนอยู่ที่วัดธรรมปาละ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ท่านต้องทำหน้าที่ดูแลงานทั่วไปภายในวัด แยกขยะ นำขยะไปทิ้งอาทิตย์ละ ๒ ครั้ง คอยอุปัฏฐากพระผู้ใหญ่ ท่านพยายามฝึกฝนอย่างเต็มกำลัง ในเวลาเกือบ ๒ ปีที่ได้ปฏิบัติภาวนาที่วัด สุดท้ายท่านตัดสินใจลาสิกขาในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ท่านซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกของตัวท่านเอง ที่สำคัญท่านไม่อยากละเมิดในสิกขาบทที่รับมา เพราะรู้สึกว่าท่านยังไม่พร้อมที่จะเป็นสามเณรต่อเพื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุในอีกไม่ช้า ท่านยังอยากใช้ชีวิตแบบฆราวาสที่สามารถทำอะไรได้มากขึ้น ไม่มีข้อกำหนด กฎบังคับมาก แต่มีโอกาสปฏิบัติภาวนาสม่ำเสมอ
ความเป็นที่รัก โดย พระพิทยา ฐานิสสโร

ความเป็นที่รัก โดย พระพิทยา ฐานิสสโร

ความเป็นที่รัก โดย พระพิทยา ฐานิสสโร  หนุ่มวิศวกรก่อสร้างชาวสวิตเซอร์แลนด์ วัย ๔๐ ปีต้นๆ แต่งงานกับหญิงไทยเมื่อหลายปีก่อน ตอนนี้มีลูกสาววัยน่ารักด้วยกันสองคน อายุ ๒ ขวบและ ๔ ขวบ เพิ่งเดินทางกลับจากไปเยี่ยมบ้านเกิดของภรรยาที่เมืองไทยเมื่อเดือนที่แล้ว หลังจากกลับมาที่สวิตเซอร์แลนด์ได้ ๓ วัน เช้าวันนั้นภรรยาตื่นขึ้นมาทำภารกิจภายในบ้าน โดยมิได้สนใจสามี คิดว่าเขาคงต้องการนอน เมื่อทำสิ่งต่างๆ เสร็จ แต่เห็นสามีนอนหลับนานผิดปรกติ สังเกตดูอีกทีแขนสามีเป็นสีม่วงจับที่ตัวสามีปรากฎว่าสามีได้เสียชีวิตแล้ว เรื่องราวต่างๆ มากมายที่สามารถเกิดขึ้นกับชีวิตอย่างไม่คาดหวังทั้งในด้านดีและด้านไม่ดี เราส่วนใหญ่มิเคยได้เตรียมใจกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าในด้านใดๆ ดังนั้นเมื่อเกิดสิ่งที่ดีในชีวิตก็หลงเพลิดเพลินดีใจ ภูมิใจ ตื่นเต้นจนไม่สามารถควบคุมอารมณ์และเมื่อเกิดเหตุการณ์ เรื่องราวในสิ่งไม่ดีเกี่ยวข้องกับชีวิตตนก็จะเกิดความเครียด กลุ้มใจ ตกใจ เศร้าใจ...
ถามใจตนเองให้ดีเมื่อมีผู้ชี้นำ : พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

ถามใจตัวเองให้ดี เมื่อมีคน “ชี้นำ” : โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

  “บางครั้ง การฟังเสียงคนอื่นมากเกินไป จนลืมเสียงหัวใจตนเองไม่ค่อยดีเท่าไหร่  เพราะเคยเห็นคนที่ไปตามผู้ชี้นำเสมอ...จนลืมไปว่าอะไรที่สิ่งสำคัญสำหรับตัวเอง”    ถามใจตัวเองให้ดี เมื่อมีคน “ชี้นำ” โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป   หลายคนเหลือเกินที่จะชี้ให้เราไปสู่เป้าหมาย  แต่มีไม่กี่คนหรอก  ที่จะนำเราไปสู่จุดหมายที่ชี้นั้น  และบางคนก็ทำได้แค่ชี้ให้เราเห็น มากมายเป้าหมายที่อยู่เบื้องหน้า  เราเองจะต้องเลือกสักอย่าง  แล้วก็พยายามก้าวไปให้ถึงจุดนั้นด้วยตัวเอง  เพราะจริงๆ แล้ว มันยากที่จะมีใครมานำเราไป  อย่างมากก็แค่เดินนำ  ทำให้เราเห็นว่า ทางนั้นพอจะไปได้บ้างแต่ก้าวสำคัญก็ยังเป็นของเรา เพราะถ้าพลาด...ก็หล่นเองและเจ็บเอง            บางคนอยากหาเพื่อนร่วมทาง  ที่มีจุดหมายจุดเดียวกัน  ก็อาจจะพอหาได้  แต่ความหมายเดียวกันอาจจะยากสักหน่อย  เพราะแม้เราจะมองจุดเดียวกัน  เราก็อาจจะหมายถึงคนละอย่างกัน  เคยขึ้นไปบนยอดดอยอย่างลำบากกว่าจะขึ้นไปถึง แล้วมองยอดดอยมากมาย ...
อาชีวะต้นแบบ วิถีพุทธ โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

อาชีวะวิถีพุทธต้นแบบ โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

อาชีวะวิถีพุทธต้นแบบ โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป
ลมหายใจของชีวิต ชีวิตของลมหายใจ : พระครูใบฎีกามงคล วชิรปัญโญ เรื่อง  ปัญญวชิรา ภาพ

ลมหายใจของชีวิต ชีวิตของลมหายใจ : พระครูใบฎีกามงคล วชิรปัญโญ เรื่อง  ปัญญวชิรา ภาพ

เรียงถ้อย ร้อยธรรม  ลมหายใจของชีวิต ชีวิตของลมหายใจ โดย พระครูใบฎีกามงคล วชิรปัญโญ เรื่อง  ปัญญวชิรา ภาพ     ลมหายใจของชีวิต ชีวิตของลมหายใจ              ๏ หนึ่งชีวิตชีวา                      คุณว่ายาวนานแค่ไหน ไหนลองสูดหายใจ                           เข้าไปให้สุดใจลึก            ๏ แล้วกลั้นไม่ออกมา              ดูแววตาความรู้สึก      นับเนื่องเป็นเครื่องตรึก                     นึกถึงลมหายใจออก ๏ งั้นหายใจออกพลัน             ออกแล้วกลั้นตามคำบอก                                 เอาลมสู่ข้างนอก                              แล้วไม่กรอกกลับเข้าไป ๏ ย่อมอึดอัดขัดเคือง              ถือเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่                                 หายใจเข้าไม่ออกไป             ...
พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ เมื่อครั้งเดินทางขึ้นไปให้กำลังใจพระธรรมทูตอาสาทางเหนือในโครงการ"เยี่ยมพระพบปะโยม" ขอขอบคุณ ภาพโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่เงสริมคุณธรรม จริยธรรมและความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

รำลึกความทรงจำ วิถีพระธรรมทูตจิตอาสา (๑.)จุดเริ่มต้นชีวิต…พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ (สว่าง จนฺทวํโส) อดีตเจ้าอาวาสวัดรัตนานุภาพ, เจ้าคณะอำเภอสุไหงปาดี และประธานเครือข่ายพระธรรมทูตอาสาจังหวัดนราธิวาส มรณภาพจากการถูกลอบยิงที่วัด จากสถานการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒ รำลึกความทรงจำ  วิถีพระธรรมทูตจิตอาสาห้าจังหวัดชายแดนใต้  ๑. จุดเริ่มต้นชีวิต  พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ ณ  สำนักสงฆ์โคกโก (วัดรัตนานุภาพ)...
เปรียบเทียบเพื่อทบทวน ไม่ใช่เพื่อทับถม โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

เปรียบเทียบเพื่อทบทวน ไม่ใช่เพื่อทับถม โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

“การสอนเด็ก...ไม่ใช่แค่ให้เขารู้อะไร แต่ให้เขารู้วิธีคิด เพราะถ้ามีวิธีคิดที่ดีแล้วจะนำไปสู่การแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง”   มีลาอยู่ตัวหนึ่ง มันเล็มหญ้าอยู่ที่ทุ่งอันเขียวขจีกว้างใหญ่ในช่วงปลายฝนต้นหนาว ทำให้เช้าๆ หมอกเม็ดหนาค้างอยู่บนยอดหญ้าสะท้อนกับแสงแดดเป็นประกายดุจเพชรเม็ดงาม  กระจายทั่วทุ่ง  เสียงจิ้งหรีดดังระงมไปทั่วทุ่ง สร้างความบันเทิงใจให้กับลาตัวนั้นมาก  ความหลงใหลในเสียงของจิ้งหรีดทำให้ลาตัดสินใจเดินไปถามว่า “เจ้าจิ้งหรีดน้อย เสียงเจ้าดีเหลือเกิน เจ้าทำยังไงถึงได้เสียงดีขนาดนี้?” จิ้งหรีดน้อยร้องตอบไปว่า  “ข้าตื่นแต่เช้ากินน้ำค้างทุกวัน” ฟังเพียงเท่านี้เจ้าลาตัวนั้นมันก็เลิกกินหญ้า  ตื่นเช้ามาก็เลียกินแต่น้ำค้าง  ด้วยหวังว่าสักวันมันจะมีเสียงที่ดีเหมือนจิ้งหรีด ไม่นานลาตัวนั้นก็ตาย เพราะร่างกายผอมโซขาดใจตายในที่สุด ผู้เขียนเล่าเรื่องนี้ให้เด็กๆ ฟัง ก่อนจะถามว่าเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าอะไร เด็กๆ หลายคนบอกว่า “ลาโง่ไม่ดูตัวเอง” มีเด็กคนหนึ่งบอกว่า “ลาไม่ได้โง่แค่ค้นหาตัวเองไม่เจอ เลยมัวแต่เลียนแบบคนอื่น จึงไม่ประสบความสำเร็จ” ฟังแล้วก็ได้แต่แย้มน้อยๆ เพราะไม่กี่ครั้งที่เล่าไปแล้วจะมีคนค้นพบรหัสที่ซ่อนอยู่ในเรื่องเล่า  เพราะการสอนเด็กยุคนี้  การอธิบายให้ฟังไม่ค่อยได้ผลเพราะเขาหาอ่านได้จากอินเทอร์เน็ต  แต่การกระตุ้นด้วยคำถามหรือเรื่องเล่าเพื่อชวนคิด  และขบประเด็นบางอย่าง  จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ได้ดีกว่า เพราะบางครั้งเราไม่ใช่แค่ให้เขารู้อะไร  แต่อยากให้เขารู้วิธีคิดมากกว่า  เพราะถ้ามีวิธีคิดที่ดีแล้วจะนำไปสู่การแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง   จากเรื่องลากับจิ้งหรีด  เราช่วยกันสรุปประเด็นว่า...
เธอคือพรอันประเสริฐ โดย พระพิทยา ฐานิสสโร  

เธอคือพรอันประเสริฐ โดย พระพิทยา ฐานิสสโร  

เธอคือพรอันประเสริฐ  โดย พระพิทยา ฐานิสสโร   ดินโคลนถล่มครั้งใหญ่จากภูเขาลงมาในหมู่บ้านแถว Chembery ประเทศฝรั่งเศส ในวันที่ 24 พฤศจิกายน ปีพุทธศักราช ๑๗๙๑ ทำให้เกิดความเสียหายในหมู่บ้านและผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก แต่ไม่สร้างความเสียหายกับโบสถ์พระแม่มาเรียดำในหมู่บ้านนั้น หลังจากเหตุการณ์นั้นเป็นเหตุให้เกิดความศรัทธาอย่างยิ่งใหญ่ต่อพระแม่มาเรียดำนับจนถึงปัจจุบันนี้ และเมื่อใครที่มาขอพรสำเร็จ มีหลายคนที่กลับมาแสดงความขอบคุณด้วยการทำป้ายสลักหินอ่อนใส่ชื่อ วัน เดือน ปี ที่ตนได้สมประสงค์ในสิ่งที่ได้ขอพรไว้ต่อพระแม่มาเรียดำ ในทุกๆ ที่ไม่ว่าจะนับถือศาสนาไหนหรือที่ใดๆ บนโลกใบนี้ สถานที่ที่มีการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติสู่ความเรียบง่าย เพื่อลดความเห็นแก่ตัว ปล่อยวางความยึดมั่น ถือมั่นในตัวตนของตน เพื่อเป็นการอุทิศชีวิตบนหนทางแห่งการตื่นรู้ ณ ที่ๆ นั้น เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์เสมอ รูปเคารพเป็นเพียงสิ่งสมมติให้ผู้คนที่นับถือในความเชื่อ สิ่งสมมตินั้นๆ จากความดีหรือสิ่งดีๆ...

TRENDING RIGHT NOW