ถามใจตนเองให้ดีเมื่อมีผู้ชี้นำ : พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

ถามใจตัวเองให้ดี เมื่อมีคน “ชี้นำ” : โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

  “บางครั้ง การฟังเสียงคนอื่นมากเกินไป จนลืมเสียงหัวใจตนเองไม่ค่อยดีเท่าไหร่  เพราะเคยเห็นคนที่ไปตามผู้ชี้นำเสมอ...จนลืมไปว่าอะไรที่สิ่งสำคัญสำหรับตัวเอง”    ถามใจตัวเองให้ดี เมื่อมีคน “ชี้นำ” โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป   หลายคนเหลือเกินที่จะชี้ให้เราไปสู่เป้าหมาย  แต่มีไม่กี่คนหรอก  ที่จะนำเราไปสู่จุดหมายที่ชี้นั้น  และบางคนก็ทำได้แค่ชี้ให้เราเห็น มากมายเป้าหมายที่อยู่เบื้องหน้า  เราเองจะต้องเลือกสักอย่าง  แล้วก็พยายามก้าวไปให้ถึงจุดนั้นด้วยตัวเอง  เพราะจริงๆ แล้ว มันยากที่จะมีใครมานำเราไป  อย่างมากก็แค่เดินนำ  ทำให้เราเห็นว่า ทางนั้นพอจะไปได้บ้างแต่ก้าวสำคัญก็ยังเป็นของเรา เพราะถ้าพลาด...ก็หล่นเองและเจ็บเอง            บางคนอยากหาเพื่อนร่วมทาง  ที่มีจุดหมายจุดเดียวกัน  ก็อาจจะพอหาได้  แต่ความหมายเดียวกันอาจจะยากสักหน่อย  เพราะแม้เราจะมองจุดเดียวกัน  เราก็อาจจะหมายถึงคนละอย่างกัน  เคยขึ้นไปบนยอดดอยอย่างลำบากกว่าจะขึ้นไปถึง แล้วมองยอดดอยมากมาย ...
อาชีวะต้นแบบ วิถีพุทธ โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

อาชีวะวิถีพุทธต้นแบบ โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

อาชีวะวิถีพุทธต้นแบบ โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป
ใจเปลี่ยนฤดู โดย พระพิทยา ฐานิสสโร

ใจเปลี่ยนฤดู โดย พระพิทยา ฐานิสสโร

ท่องโลก เห็นธรรม พระพิทยา ฐานิสสโร
เรียนรู้ทุกย่างก้าว โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

เรียนรู้ทุกย่างก้าว โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

เรียนรู้ทุกย่างก้าว  โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท  วัดทองนพคุณ คลองสาน กรุงเทพฯ “อาศัยการเดินเป็นเครื่องมือในการสอน โดยไม่ต้องบอกว่าต้องทำอย่างโน้นอย่างนี้ อุปสรรคปัญหา ความเหนื่อย ความอ่อนล้า ความหนักในการเดินทาง เป็นเครื่องมือสร้างความรัก ความสามัคคีให้เกิดขึ้นระหว่างกันและกันได้เป็นอย่างดี”           เรียนรู้ทุกอย่างก้าว   ผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการปฏิบัติธรรม “เดินธุดงค์สัญจร” ของนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมธีรราชมหามุนี วัดศรีบุญเรือง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระหว่างวันที่ ๙-๑๓ มกราคม ๒๕๖๒ เป้าหมายคือ เดินมาจัดกิจกรรมวันเด็ก ซึ่งกำหนดจัดขึ้นวันที่ ๑๓ มกราคม ร่วมกับภาคีเครือข่ายกลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม สถาบันพัฒนาพระวิทยากร ณ อาศรมพระบัณฑิตอาสาบ้านดอกแดง อำเภอฮอด...
พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม  โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป “พระพุทธศาสนาไม่ใช่เรื่องของปัจเจก (individual) แต่หมายถึงการอยู่ร่วมกันกับสังคมส่วนรวม (Society as Collective) พร้อมทั้งสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมต่อไปอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะเห็นได้ว่า... พระพุทธเจ้ามุ่งให้พระสงฆ์อนุเคราะห์สร้างสิ่งอันสมควรแก่มนุษย์ทั้งหลาย “   พุทธศาสนาเพื่อสังคม               คนไทยยังไม่คุ้นกับคำว่า  พุทธศาสนาเพื่อสังคม (Socially Engaged Buddhism)  มากนัก  เพราะส่วนใหญ่พูดกันในแวดวงวิชาการ หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะวิถีสงฆ์ไทยได้ปฏิบัติจนเป็นความคุ้นชินกับคนทั่วไป  เป็นการรับรู้ร่วมกันโดยที่ไม่ต้องบัญญัติศัพท์ใหม่เพื่อทำความเข้าใจ  เพราะวิถีพุทธนั้น เป้าหมายสำคัญก็เพื่อประโยชน์สุขของสังคม  ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า  “จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํฯ เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์” ...

มิตรภาพ และความเข้าใจ ณ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งโดโมดอสโซลา   โดย พระพิทยา ฐานิสสโร   

มิตรภาพ และความเข้าใจ ณ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งโดโมดอสโซลา      โดโมดอสโซลา (Domodossola)เป็นเมืองเล็กๆ ที่ล้อมรอบด้วยภูเขาทางตอนเหนือในแคว้นพีดมอนต์ (Piedmont) ประเทศอิตาลี ซึ่งชายแดนติดกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่นี่ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยวหลัก แต่มีศิลปะที่ผสมผสานกันระหว่างประติมากรรมและจิตรกรรมของชาวคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ภายในโบสถ์ ศิลปกรรมเป็นงานสามมิติ แต่ละชาเปลบริเวณมุขโค้ง เริ่มต้นตั้งแต่ปริมณฑลของเมืองจนถึงโบสถ์บนภูเขาที่มีพระเยซูทรงถูกตรึงไม้กางเขน เมื่อนักแสวงบุญมีโอกาสเดินลดเลี้ยวจากชาเปลหนึ่งไปอีกชาเปลหนึ่งเหมือนได้รับรู้เรื่องราวและเดินตามรอยพระบาทของพระเยซูบนถนนโดโลโรซา (Via Dolorosa) ในกรุงเยรูซาเลม ซึ่งเป็นถนนที่พระองค์ทรงเดินแบกกางเขนไปสู่เนินกอลกอธา (Golgotha) ที่ทรงถูกตรึงกางเขน และสถานที่แห่งนี้ก็เป็นอีกที่หนึ่งที่ได้จำลองเรื่องราวนั้น ภูเขาแห่งเมืองนี้ได้รับการขนานนามว่าภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งโดโมดอสโซลาหรือ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์มอนเตคัลวาริโอ(อิตาลี: Sacro Monte di Domodossola หรือ Sacro Monte...
จิตใจที่มีอริยทรัพย์ คือ รู้จักตนเอง : พระพิทยา ฐานิสสโร

จิตใจที่มีศีล คือ มีอริยทรัพย์ : พระพิทยา ฐานิสสโร

สามเณรวัย ๓๐ ปี ชาวสาธารณรัฐเชค บรรพชาตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีที่แล้ว หลังจากฝึกเป็นพ่อขาวอยู่ ๑ ปีที่วัดอมราวดี ในประเทศอังกฤษ ปัจจุบันมาจำพรรษาฤดูหนาวเป็นเวลา ๓ เดือนอยู่ที่วัดธรรมปาละ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ท่านต้องทำหน้าที่ดูแลงานทั่วไปภายในวัด แยกขยะ นำขยะไปทิ้งอาทิตย์ละ ๒ ครั้ง คอยอุปัฏฐากพระผู้ใหญ่ ท่านพยายามฝึกฝนอย่างเต็มกำลัง ในเวลาเกือบ ๒ ปีที่ได้ปฏิบัติภาวนาที่วัด สุดท้ายท่านตัดสินใจลาสิกขาในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ท่านซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกของตัวท่านเอง ที่สำคัญท่านไม่อยากละเมิดในสิกขาบทที่รับมา เพราะรู้สึกว่าท่านยังไม่พร้อมที่จะเป็นสามเณรต่อเพื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุในอีกไม่ช้า ท่านยังอยากใช้ชีวิตแบบฆราวาสที่สามารถทำอะไรได้มากขึ้น ไม่มีข้อกำหนด กฎบังคับมาก แต่มีโอกาสปฏิบัติภาวนาสม่ำเสมอ
ความเป็นที่รัก โดย พระพิทยา ฐานิสสโร

ความเป็นที่รัก โดย พระพิทยา ฐานิสสโร

ความเป็นที่รัก โดย พระพิทยา ฐานิสสโร  หนุ่มวิศวกรก่อสร้างชาวสวิตเซอร์แลนด์ วัย ๔๐ ปีต้นๆ แต่งงานกับหญิงไทยเมื่อหลายปีก่อน ตอนนี้มีลูกสาววัยน่ารักด้วยกันสองคน อายุ ๒ ขวบและ ๔ ขวบ เพิ่งเดินทางกลับจากไปเยี่ยมบ้านเกิดของภรรยาที่เมืองไทยเมื่อเดือนที่แล้ว หลังจากกลับมาที่สวิตเซอร์แลนด์ได้ ๓ วัน เช้าวันนั้นภรรยาตื่นขึ้นมาทำภารกิจภายในบ้าน โดยมิได้สนใจสามี คิดว่าเขาคงต้องการนอน เมื่อทำสิ่งต่างๆ เสร็จ แต่เห็นสามีนอนหลับนานผิดปรกติ สังเกตดูอีกทีแขนสามีเป็นสีม่วงจับที่ตัวสามีปรากฎว่าสามีได้เสียชีวิตแล้ว เรื่องราวต่างๆ มากมายที่สามารถเกิดขึ้นกับชีวิตอย่างไม่คาดหวังทั้งในด้านดีและด้านไม่ดี เราส่วนใหญ่มิเคยได้เตรียมใจกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าในด้านใดๆ ดังนั้นเมื่อเกิดสิ่งที่ดีในชีวิตก็หลงเพลิดเพลินดีใจ ภูมิใจ ตื่นเต้นจนไม่สามารถควบคุมอารมณ์และเมื่อเกิดเหตุการณ์ เรื่องราวในสิ่งไม่ดีเกี่ยวข้องกับชีวิตตนก็จะเกิดความเครียด กลุ้มใจ ตกใจ เศร้าใจ...
"ต้นแบบของพระผู้สร้าง... ”พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก ๓ โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

“ต้นแบบของพระผู้สร้าง… ”พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก(๓) โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

คอลัมน์ จาริกบ้าน จารึกธรรม (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ โดยพระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท วัดทองนพคุณ คลองสาน กรุงเทพฯ “ต้นแบบของพระผู้สร้าง... ผู้สืบทอดอายุพระพุทธศาสนา” พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก ๓ โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท  วัดทองนพคุณ คลองสาน กรุงเทพฯ        ผู้เขียนได้พูดคุยกับ พระครูพิพัฒน์เมธากร ในฐานะที่เป็นกัลยาณมิตรของอาจารย์พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดรัตนานุภาพ อดีตเจ้าคณะอำเภอสุไหงปาดี...
ภาพโดย สามเณรพรอนันต์ หุ่นทอง

ร้อยหมื่นพันคำไม่เท่าหนึ่งทำให้ดู : โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

แนวคิดว่า “ร้อยหมื่นพันคำไม่เท่าหนึ่งทำให้ดู”  สอดคล้องกับหลักพุทธที่ว่า “ยถาวาที  ตถาการี  พูดอย่างไร  ทำอย่างนั้น”    ร้อยหมื่นพันคำไม่เท่าหนึ่งทำให้ดู โดย พระมหาประสิทธิ์  ญาณปฺปทีโป                 ได้อ่านบทความวิชาการเรื่อง “ผู้สูงอายุต้นแบบตามแนวพุทธ : กรณีศึกษาหลวงพ่อวัดบางเบิด  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” ประทับใจในความเป็นต้นแบบของหลวงพ่อที่อายุมากถึง ๗๓ ปี แต่ว่ามีอุตสาหะเรียนจนถึงระดับปริญญาเอก  ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมท่านถึงต้องเรียนเป็นพระอายุมากแล้วแล้วไม่ต้องเรียนก็ได้   แต่ท่านกลับเบิกบานกับการเดินทางไกลถึง ๘๐๐ กิโลเมตร ทำให้เกิดแรงบันดาลใจทั้งต่อคณาจารย์และสหธรรมิก  จึงนำไปสู่การถอดบทเรียนทำให้ค้นพบว่า  ท่านทำหน้าที่พระที่ไม่ใช่แค่สอนสั่ง แต่มีแนวคิดว่า “ร้อยหมื่นพันคำไม่เท่าหนึ่งทำให้ดู”  สอดคล้องกับหลักพุทธที่ว่า “ยถาวาที...

TRENDING RIGHT NOW