หน้าแรก บันทึกธรรมวิจัย

บันทึกธรรมวิจัย

    ภาพโดย สามเณรพรอนันต์ หุ่นทอง

    ร้อยหมื่นพันคำไม่เท่าหนึ่งทำให้ดู : โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

    ร้อยหมื่นพันคำไม่เท่าหนึ่งทำให้ดู โดย พระมหาประสิทธิ์  ญาณปฺปทีโป ได้อ่านบทความวิชาการเรื่อง “ผู้สูงอายุต้นแบบตามแนวพุทธ : กรณีศึกษาหลวงพ่อวัดบางเบิด  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” ประทับใจในความเป็นต้นแบบของหลวงพ่อที่อายุมากถึง ๗๓ ปี แต่ว่ามีอุตสาหะเรียนจนถึงระดับปริญญาเอก  ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมท่านถึงต้องเรียนเป็นพระอายุมากแล้วแล้วไม่ต้องเรียนก็ได้   แต่ท่านกลับเบิกบานกับการเดินทางไกลถึง ๘๐๐ กิโลเมตร ทำให้เกิดแรงบันดาลใจทั้งต่อคณาจารย์และสหธรรมิก  จึงนำไปสู่การถอดบทเรียนทำให้ค้นพบว่า  ท่านทำหน้าที่พระที่ไม่ใช่แค่สอนสั่ง แต่มีแนวคิดว่า “ร้อยหมื่นพันคำไม่เท่าหนึ่งทำให้ดู”  สอดคล้องกับหลักพุทธที่ว่า “ยถาวาที  ตถาการี  พูดอย่างไร  ทำอย่างนั้น”  ซึ่งผู้ศึกษาได้สรุปเป็นประเด็นความเป็นต้นแบบของผู้สูงอายุตามแนวพุทธ ของหลวงพ่อว่า เจตนาในการทำตนให้เป็นต้นแบบ หลวงพ่อวัดบางเบิด  มีปณิธาน แกร่งกล้าที่จะใช้ตนเองให้เป็นต้นแบบแก่ลูกหลาน  ให้เห็นเป็นภาพประจักษ์ ยืนยันคำสอนของท่าน ที่มุ่งให้ทุกคนพัฒนาตนเองทั้งทางโลกและการพัฒนาจิตใจทางธรรม ...
    พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ เมื่อครั้งเดินทางขึ้นไปให้กำลังใจพระธรรมทูตอาสาทางเหนือในโครงการ"เยี่ยมพระพบปะโยม" ขอขอบคุณ ภาพโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่เงสริมคุณธรรม จริยธรรมและความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

    รำลึกความทรงจำ วิถีพระธรรมทูตจิตอาสา (๑.)จุดเริ่มต้นชีวิต…พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

    พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ (สว่าง จนฺทวํโส) อดีตเจ้าอาวาสวัดรัตนานุภาพ, เจ้าคณะอำเภอสุไหงปาดี และประธานเครือข่ายพระธรรมทูตอาสาจังหวัดนราธิวาส มรณภาพจากการถูกลอบยิงที่วัด จากสถานการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒ รำลึกความทรงจำ  วิถีพระธรรมทูตจิตอาสาห้าจังหวัดชายแดนใต้  ๑. จุดเริ่มต้นชีวิต  พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ ณ  สำนักสงฆ์โคกโก (วัดรัตนานุภาพ)...
    บาตรเดียวท่องโลก โดย พระพิทยา ฐานิสสโร :

    ธรรมะรักษาใจ โดย พระพิทยา ฐานิสสโร

    ความทุกข์เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องเผชิญ  แต่เราจะมีวิธีที่จะเผชิญกับทุกข์อย่างไร ที่ไม่ซ้ำเติมตนเอง และทำร้ายผู้อื่น  ขณะเดียวกัน ความทุกข์นั้น หากมองเห็น ก็เป็นปัญญา ในการดับทุกข์ได้เช่นกัน ... พระพิทยา ฐานิสสโร มีคำตอบ ธรรมะรักษาใจ  โดย พระพิทยา ฐานิสสโร  ลูกศิษย์คนหนึ่งรู้สึกว่าชีวิตในช่วงนี้เหมือนกลืนไม่เข้า คลายไม่ออก อึดอัด เป็นทุกข์ เหนื่อย ท้อแท้ใจ ที่ตนเองทำหน้าที่ในส่วนตนดีที่สุดแล้ว แต่มิวายถูกกล่าวหา การทำความดีในกลุ่มคนที่เห็นไปในทางเดียวกัน มีศีลที่เสมอกันเป็นเรื่องง่าย แต่การทำความดีกับบุคคลที่เห็นต่าง แต่ไม่ยอมรับในความต่าง จนสามารถคิดร้าย กล่าวร้าย กระทำร้ายคนที่เห็นต่าง และใช้บทบาท หน้าที่ อำนาจที่เหนือกว่า ทำลาย ทำร้ายคนที่คิด พูด กระทำต่างออกไป ขณะเดียวกันผู้ที่คิดต่าง แต่มีอำนาจก็จะปกป้องตัวเองและพวกพ้องในความผิดนั้นๆ ...
    พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา Photo by Mon

    สิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้สอน

    พระพุทธเจ้าสอนไม่ให้เกลียดกัน พระองค์ทรงสอนให้เห็นตัวความเกลียด แล้วอย่าไปทำตามมัน  แทนที่จะไปเกลียดกัน (แต่ทำไมคนจึงเกลียดกัน) พระพุทธเจ้าสอนให้เรารู้จักให้อภัย (แต่ทำไมคนจึงอาฆาตพยาบาทต่อกัน ทำร้ายกัน) พระพุทธเจ้าสอนให้เรากลับมาหาข้อผิดพลาดของตนเองแล้วแก้ไข (แต่ทำไมคนจ้องจับผิดคนอื่น ชอบเปลี่ยนแปลงคนอื่นแต่ไม่เปลี่ยนแปลงตัวเอง) พระพุทธเจ้าสอนให้พึ่งตนเอง แต่ทำไมจิตจึงชอบแสวงหาที่พึ่พิงภายนอกซึ่งไม่มีอยู่จริง ใช่ เพราะจิตที่ยังไม่ได้ฝึก เต็มไปด้วยความกลัว ความกังวล ความไม่มั่นคง ไม่มั่นใจ จึงออกแสวงหาสิ่งที่ว่าไว้ซึ่งเป็นมายา ไม่เทื่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา เมื่อจิตไปแสวงหาที่พึ่งภายนอก แล้วไม่ได้ดั่งใจ จิตจึงทุกข์ เมื่อทุกข์ พระพุทธเจ้าทรงให้เรากลับมามองที่จิต จนเห็นเหตุแห่งทุกข์ และหาทางออกจากมัน ไม่ตามใจมัน เมื่อไม่ตามใจกิเลส ก็อดทน ทรมาน จนกว่าจิตจะแข็งแรง พึ่งตนเองได้ เมื่อนั้น เราก็จะเป็นที่พึ่งให้คนอื่นได้เช่นกัน ดังพุทธภาษิตว่า สนาถา วิหรถ มา อนาถา     :  ...
    พระครูประโชติรัตนานุรักษ์กับเด็กๆ ชาวดอย ที่อาศรมบ้านดอกแดง เชียงใหม่

    “ไม่ตาย ไม่เลิกทำความดี” พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (๒) โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

    จาริกบ้าน จารึกธรรม (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒) โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท วัดทองนพคุณ คลองสาน กรุงเทพฯ เรียนรู้ปฏิปทาพระสุปฏิปันโนผู้เดินตามรอยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ... “ไม่ตาย ไม่เลิกทำความดี” พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (๒) จาริกบ้านจารึกธรรม   โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท  วัดทองนพคุณ คลองสาน กรุงเทพฯ        ผู้เขียนได้พูดคุยกับ พระครูปลัดสุพัน สุวณฺโณ...

    ใครๆ ก็อยากพ้นทุกข์ : หมอนไม้

    ข้าพเจ้าเชื่อเช่นนั้น ... ยิ่งเมื่อได้รับรู้เกี่ยวกับเรื่องเสือ ที่ห้นมากินมังสวิรัติ ละเว้นการกินเนื้อสัตว์ตลอดชีพ เรื่องของจระเข้แสนรู้ ที่หันมากินข้าวสุกแทน และสัตว์อีกมากมายหลายชนิด ที่เลือกที่จะบำเพ็ญตนเพื่อไปสู่ภพภูมิที่ดีกว่าในอนาคต โดยเฉพาะ การเกิดเป็นมนุษย์ และได้พบพระพุทธศาสนา นับเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็แสวงหา หากรู้ความจริงว่า โลกนี้มีแต่ทุกข์ และปรารถนาจะออกจากทุกข์ ตามรอยพระพุทธเจ้า...ดังเรื่องเล่ามากมายในชาดก และประวัติของพระองค์ที่เล่าขานอยู่ในพระไตรปิฎกมากมาย  การที่พระองค์ตรัสว่า ทุกพื้นที่บนโลกนี้ ไม่มีตรงไหนที่ไม่มีคนตาย และน้ำตานั้นมากกว่าน้ำในมหาสมุทรนั้น จึงเป็นเรื่องจริง  ิเพราะใครๆ ก็รักชีวิต พระพุทธองค์จึงแนะให้เรารักษาศีลกัน  และหากเรารักษาศีล โอกาสเบียดเบียนกันก็น้อยลง ความทุกข์ก็น้อยลง การก่อเวรกันก็น้อยลง และนี่่คือ หนทางที่จะออกจากทุกข์กันในก้าวแรกเลยทีเดียว  ขอให้เรามาฝึกปฏิบัติรักษาศีลกัน  และเป็นกำลังใจให้กันและกัน  ท่านใด มีแนวทางในการรักษาศีลอย่างไร ก็เขียนมาแลกเปลี่ยนสนทนากันได้ นะคะ เราจะเดินหน้า...
    ภาพลายเส้นพู่กันจีน โดย หมอนไม้

    ความเงียบที่เสียงดัง โดย หมอนไม้

    ความเงียบที่เสียงดัง  โดย หมอนไม้             ตั้งแต่ไลน์ระบาด หลังเฟซบุ๊คเกิดขึ้นมาหลายปี...ฉันรู้สึกว่า โลกมันเปลี่ยนไปอย่างชัดเจนมากขึ้น  รอบๆ ตัวเงียบมากขึ้น  บนรถเมล์ แทบจะไม่มีเสียงคุยกัน สมัยเมื่อไม่นานมานี้ เสียงโทรศัพท์ยังดังกระหึ่ม จนโชเฟอร์มีติดป้ายประกาศว่า ห้ามคุยโทรศัพท์เสียงดัง หรือห้ามคุยกันเกิน 5 นาทีเป็นต้น เพราะจะทำให้คนขับรถไม่มีสมาธิ แต่จากยุคโทรกระหน่ำผ่านไป ตอนนี้  โลกกลับเงียบเชียบ ไม่ว่าไปที่ไหน ฉันเห็นคนก้มหน้าก้มตาจ้องดูสมาร์ทโฟนของตัวเองแทบจะตลอดเวลา  และเมื่อเวลาเงยหน้าขึ้น ต่างก็เดินไปทำภารกิจของตนเอง ไม่มีใครสนใจใคร นั่นคือ ชีวิตของผู้คนในพ.ศ.นี้? แต่ขณะเดียวกัน ในความเงียบ  กลับมีเสียงดังอึกทึก สรวลเสเฮฮา ดังระเบิดเถิดเทิงในสังคมออนไลน์  แทบทุกฝีก้าวของคนๆ หนึ่งที่ไม่ยิ้ม ไม่พูดคุยกับผู้คนรอบข้าง กลับมีเรื่องราวน่ารัก...
    พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

    “ครูผู้สอนด้วยชีวิต”พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (๕) โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

    อาจารย์พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ กับเด็กๆ บนดอย ที่อาศรมบ้านดอกแดง จังหวัดเชียงใหม่ "ครูแห่งสันติที่สอนด้วยชีวิต : พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (๕)" โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท จากคอลัมน์ จาริกบ้านจารึกธรรม หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๒
    ก้าวไปสู่อนาคตด้วยพลังแห่งปัญญาของชุมชน. : พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

    ก้าวไปสู่อนาคตด้วยพลังแห่งปัญญาของชุมชน โดย  พระมหาประสิทธิ์  ญาณปฺปทีโป

    ก้าวไปสู่อนาคตด้วยพลังแห่งปัญญาของชุมชน โดย  พระมหาประสิทธิ์  ญาณปฺปทีโป “ทุกปัญหาผ่านพ้นเมื่อชุมชนเกิดปัญญาสาธารณะ” เคยได้แลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาชุมชนกับสาขาการจัดการชุมชนของราชภัฏแห่งหนึ่ง  สรุปกันว่า ปัญญา คือ ทางออกของปัญหาในการพัฒนาชุมชน ปัญญาคือแสงสว่างในโลก  ที่ช่วยส่องทางให้กับคนทุกคนได้ดำเนินชีวิตไปในทางที่เหมาะสม และมีความสุข  พัฒนาชีวิตตนเองได้เต็มศักยภาพ  แต่ว่าปัญญา ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เป็นสิ่งที่เราจะต้องบ่มเพาะ  สร้างมันขึ้นมาให้มีในตัวเอง บางคนบอกว่า  ปัญญาคือต้องมีปริญญา  ซึ่งจริงๆ หากดูสถิติการลงทะเบียนคนจน  จะเห็นได้ว่า  คนจบปริญญาตรีโทเอก ก็มีไปลงทะเบียนกันเยอะเหมือนกัน  ฉะนั้นแล้ว  ปัญญามิอาจจะวัดด้วยปริญญาเพียงอย่างเดียว  เราไม่มีปริญญาจึงไม่ควรคิดว่าตนเองไม่มีปัญญา  และแม้จะไม่มีค่าเรียน  เราก็สามารถที่จะสร้างปัญญาหาความรู้ให้กับตนเองได้ “ความรู้มีอยู่ทั่วไป”  เป็นคำที่เคยได้ยินมาตั้งแต่เด็ก แต่มายุคนี้ เขาพูดกันถึง  “ปัญญาสาธารณะ” หมายถึงแหล่งเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไป  เข้าถึงได้  เข้าถึงง่ายและประหยัด  ซึ่งมีอยู่แล้วในชุมชนของเราเอง ...

    TRENDING RIGHT NOW